ชื่อเรื่อง | การคัดเลือกสายต้นไผ่ซางหม่นที่มีศักยภาพในการผลิตชีวมวล |
---|---|
ผู้แต่ง | ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก, พรชัย หาระโคตร และ กุลรัตน์ บัวชุม |
ปีที่เผยแพร่ | 2563 |
รูปแบบการเผยแพร่ | วารสาร |
บรรณานุกรม | ธัญพิสิษฐ์ พวงจิก, พรชัย หาระโคตร และ กุลรัตน์ บัวชุม. 2563. การคัดเลือกสายต้นไผ่ซางหม่นที่มีศักยภาพในการผลิตชีวมวล, Thai Journal of Science and Technology 9 (2). |
พรรณไม้มีค่าที่เกี่ยวข้อง | ไผ่ซางหม่น |
วิชาการที่เกี่ยวข้อง | การปรับปรุงพันธุ์/การคัดเลือกสายพันธุ์ สายต้น ถิ่นกำเนิด/การปรับปรุงคุณภาพกล้าไม้ |
สรุปย่อบทความ | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อคัดเลือกสายต้นไผ่ซางหม่นที่มีศักยภาพในการผลิตชีวมวล โดยคัดเลือกไม้ ไผ่ซางหม่นที่มีช่วงอายุ 3 ปีขึ้นไป จ านวนทั้งหมด 211 สายต้น ที่มีลักษณะทางกายภาพดีสามารถคัดเลือกได้ จ านวน 10 สายต้น ได้แก่ สายต้นที่ 44, 53, 71, 83, 89, 101, 106, 120, 206 และ 211 แล้วนำไปผ่านกระบวนการคาร์บอนไนเซชันให้ได้ถ่านที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง นำมาบดให้ ละเอียดจนเป็นผงถ่าน จากนั้นนำไปตรวจสอบสมบัติทางเคมีด้วยการวิเคราะห์หาค่าความร้อนและปริมาณเถ้า ไม้ไผ่ซางหม่นอีกส่วนหนึ่งนำไปทดสอบหาค่าการดูดความชื้น พบว่าสายต้นไผ่ซางหม่นที่นำมาศึกษาให้ค่า พลังงานความร้อนและปริมาณเถ้าแตกต่างกันทางสถิติ อย่างไรก็ตาม ค่าการดูดความชื้นไม่แตกต่างกันทาง สถิติ โดยไผ่ซางหม่นสายต้นที่ 44 มีค่าพลังงานความร้อนสูงที่สุด (6,963.7 cal/g) แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับ สายต้นที่ 120 (6,957.6 cal/g) ขณะที่สายต้นที่ 120 มีปริมาณเถ้าต่ำที่สุด (2.04 %) ดังนั้นไผ่ซางหม่นสายต้น ที่ 120 มีศักยภาพเป็นวัตถุดิบในการผลิตชีวมวล |