ไผ่ซางหม่น
Dendrocalamus sericeus

ลักษณะทั่วไป         

     ไผ่ซางหม่นจัดเป็นไผ่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เส้นรอบวงประมาณ 30-50 เซนติเมตร สีของลำสีเขียว ไม่มีหนามและไม่ค่อยมีแขนง  มีคราบของแป้งสีขาวหรือวงขาวต่าง ๆ หรือสีขาวหม่น ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ไผ่ซางหม่น” ตามลักษณะที่เกิดขึ้น ลำใหญ่ตรงสูงประมาณ 15-20 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำ เฉลี่ย 6-10 ซม. ปล้องยาว 30-40 ซม. เนื้อหนา ใบคล้ายไผ่ตง

การกระจายพันธุ์      

     ไผ่ซางหม่นเป็นไผ่ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตภาคเหนือ พบมากบริเวณทางภาคเหนือ แถบจังหวัดเชียงใหม่ แพร่ ลำปาง และลำพูน ซึ่งในปัจจุบันก็ได้กระจายปลูกไปในหลายพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาครวมทั้งเพื่อนบ้านของเราบางส่วนด้วย

ปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสม      

     พบชอบขึ้นบริเวณเนินเขาสูง ขึ้นตามป่าผสมผลัดใบเกือบทุกภาคในประเทศ ไทย สามารถเจริญได้ดีในที่ราบหรือที่ราบเชิงเขาที่มีดินปนทราย มีการระบายนํ้าดี นํ้าไม่ท่วมขัง ซึ่งถ้านํ้าท่วมขังเป็นเวลานานจะทำ ให้ไผ่ชะงักการเจริญเติบโตถึงตายได้

การปลูกและการดูแลรักษา               

     ควรปลูกช่วงประมาณกลางเดือนเมษายนถึงประมาณสิ้นเดือนตุลาคม เพราะช่วงปลายฝนดินยังมีความชื้นอยู่ และจะมีฝนอีกช่วงหนึ่งที่จะตกตอนเดือนพฤศจิกายน จากนั้นก็จะมีฝนอีกช่วงหนึ่งซึ่งจะตกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ที่สำคัญในช่วง 1 ถึง 3 เดือนแรกพยายามรักษาความชื้นให้ดี เพราะการปล่อยให้ดินแห้งในช่วงระยะเวลาหนึ่งจะทำให้ไผ่ขาดน้ำหรือขาดความชื้นอาจส่งผลให้ตาหน่อฝ่อ ไผ่ไม่ตายแต่จะไม่ออกหน่อ เพราะหน่อไม้ที่เราเห็นจะออกมาจากตาหน่อทั้งสองข้างของกิ่งพันธุ์หรือต้นพันธุ์ไผ่

      ฉนั้นในการปลูกไผ่ในช่วงแรกๆเราต้องพยายามรักษาความชื้นให้ดี หากปลูกในช่วงปลายฝนยังไม่มีเวลาวางระบบน้ำ ให้เราหาเศษฟางหรือเศาใบไม้แห้งมาคลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นเอาไว้ ถ้าฝนไม่ตกหรือฝนทิ้งช่วงประมาณ 3 - 4 ก็รดน้ำสักหน่อยเพื่อพยุงให้รากฝอยที่กระจายตัวออกไปได้รับความชุ่มชื้นอย่างต่อเนื่อง พอผ่านไปประมาณ 1 - 2 เดือนไผ่ที่เราปลูกก็จะเริ่มแทงหน่อออกมาให้เห็น พอเจริญเติบสักระยะมีใบางนั่นแสดงว่าระบบรากแข็งแรงสมบูรณ์ไม่ต้องรดน้ำต่อก็ได้

ข้อจำกัดของไผ่ซางหม่น              

     ลำไผ่ที่แก่มักไม่ถูกรบกวนจากมอดและแมลง ฉะนั้นหากมีวัตถุประสงค์ในการปลูกไผ่เพื่อผลิตทั้งหน่อไม้ และนำไม้ไปทำเฟอร์นิเจอร์ ควรปล่อยหน่อไม้ให้เป็นลำต่อไปโดยตัดกิ่งแขนงเล็ก ๆ บริเวณโคนต้นทิ้งไปเท่านั้น

ข้อมูลการเติบโต
แนะนำพรรณไม้
มีการใช้งานตรวจสอบพื้นที่แล้ว 101,601 ครั้ง

ดูแลระบบโดย
ส่วนส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ สำนักเศรษฐกิจการป่าไม้
61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 025614292-3 ต่อ 5536 อีเมล [email protected]