ไผ่รวก
Thyrsostachys siamensis Gamble

ลักษณะทั่วไป      

     เป็นไผ่ขนาดค่อนข้างเล็ก เหง้ารวมเป็นกอแน่น ไผ่ชนิดนี้มีลักษณะเด่นคือ มีกาบหุ้มบางแนบชิดกับลำ ไม่หลุดร่วงง่าย แม้อายุมากก็ตาม ยอดกาบบาง เรียว สอบไปหาปลาย ไม่มีครีบที่กาบ ลำต้นมีสีเขียวเข้ม ผิวเรียบเป็นมัน ขึ้นเป็นกอแน่น สวยงาม ปล้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตร และยาว 10-15 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ 2 แถว ทนแล้งได้ดี นิยมปลูกกันลมหรือปลูกเป็นรั้ว พบครั้งแรกในประเทศไทย ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติให้แก่ประเทศไทย

การกระจายพันธุ์      

     เป็นไผ่ที่พบในบริเวณประเทศเมียนมาร์ และไทย ซึ่งพบทั่วทุกภาคของประเทศไทย  มีมากที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรี  มักขึ้นอยู่ในป่าเบญจพรรณปะปนอยู่กับต้นสัก


ปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสม      

     เป็นไผ่ที่ชอบอากาศร้อน  ไม่ชอบน้ำขัง ชอบดินระบายน้ำได้ดี ต้องการแดดเต็มวันชอบ ขึ้นในที่แล้ง หรือที่สูงบน ประเทศไทยพบมากที่สุดตั้งแต่ที่ราบจนถึงภูเขาสูง 400-600 ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

การปลูกและการดูแลรักษา      

     การปลูกไผ่รวกควรเตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้ง ซึ่งจะทำงานได้สะดวกสามารถลงมือปลูกได้ทันในต้นฤดูฝน โดยในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้ำขัง มีเนิน หรือมีตออยู่ในพื้นที่ ต้องไถบุกเบิก กำจัดตอออกให้หมด ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบอยู่แล้ว แค่ไถพรวนกำจัดวัชพืชอย่างเดียวก็พอ ในแหล่งที่สามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี ก็สามารถปลูกไผ่ได้ตลอดปี
      ระยะเวลาที่เหมาะต่อการปลูกไผ่อยู่ในช่วงฤดูฝน คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม- กันยายน เนื่องจากช่วงระยะที่เริ่มปลูกไผ่ต้องการน้ำมาก การปลูกในช่วงฤดูฝนจึงลดค่าใช้จ่ายในการรดน้ำลงได้ และเป็นระยะที่ไผ่มีการเจริญเติบโต ในการปลูกไผ่ขนาดเล็กควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเพื่อช่วยให้มีการเจริญเติบโตดี และอัตราการรอดตายสูง

ข้อจำกัดของไผ่รวก        

     ต้องให้น้ำในช่วงฤดูแล้ง พอฤดูฝนมาถึงไผ่ที่ปลูกก็จะทนต่อน้ำฝนที่ตกหนักได้ ไผ่แทบทุกชนิดจะกลัวน้ำขังโคนในช่วงที่ไผ่ยังเล็กอยู่เพราะมีรากน้อยมาก

ข้อมูลการเติบโต
แนะนำพรรณไม้
มีการใช้งานตรวจสอบพื้นที่แล้ว 101,606 ครั้ง

ดูแลระบบโดย
ส่วนส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ สำนักเศรษฐกิจการป่าไม้
61 ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทร. 025614292-3 ต่อ 5536 อีเมล [email protected]