ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีเปลือกสีเทาลอกเป็นแผ่นบางๆ โดยมากจะมีพุ่มใบกว้าง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบกว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-7 ซม. ปลายใบแหลม ดอกพยูงมีขนาดเล็กสีขาวเกิดบนช่อดอกเชิงประกอบ ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบใกล้ยอด ผลพยุงเป็นฝักเกลี้ยงรุปขอบขนาน แบนและบอบบาง กว้าง 1.2 ซม. ยาว 4-6 ซม. ระบบรากเป็นรากแก้วและรากแขนง เป็นไม้ที่มีระบบรากค่อนข้างลึก
การกระจายพันธุ์
ประเทศไทยจะพบพะยูงได้ตามธรรมชาติในป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดิบแล้งทั่วไป ทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-200 เมตร
ปัจจัยแวดล้อมที่เหมาะสม
เนื่องจากตามสภาพธรรมชาติไม้พะยูงจะขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งทั่วไปเกือบทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งพะยูงเป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตปานกลาง ปลูกได้โดยทั่วไปในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วม โดยสามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ดังนั้นจึงสามารถปลูกพะยูงได้ในหลายพื้นที่ทั้งภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ
การปลูกและการดูแลรักษา
การปลูกไม้พะยูงโดยทั่วไปจะปลุกด้วยกล้าไม้ ซึ่งจะได้ผลดีกว่าการปลูกด้วยเหง้า ควรปลูกในช่วงต้นหรือกลางฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม) เพราะ จะทำให้กล้สไม้มีอัตราการรอดตายสูง ก่อนนำไปปลูกควรได้รับการใส่ปุ๋ยในปริมารที่พอเหมาะ (ประมาณต้นละ 1 ช้อนชา) เพื่อให้มีอาหารเพียงพอในช่วงระยะแรกของการปลูกกล้าไม้ พะยูงสามารถปลูกผสมกับพรรญไม้อื่นได้ แต่ควรมีความใกล้เคียงกันของอัตราการเจริญเติบโต
ควรมีการบำรุงรักษาติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี ควรมีการกำจัดวัชพืชอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะในฤดูแล้งเพราะอาจจะกลายเป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดไฟไหม้ได้ อีกทั้งกล้าไม้ควรได้รับการใส่ปุ๋ยอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณการป้องกันโรคและแมลง
ข้อจำกัดของไม้พะยูง
พะยูงแม้จะเป็นไม้เศรษฐกิจที่สำคัญและสามารถปลูกได้ในหลายพื้นที่ แต่เนื่องจากเป้นไม้ที่ดตค่อนข้างช้า อีกทั้งไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับช่วงอายุตัดฟันและอัตราผลผลิตที่พึงได้ พะยูงจึงไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร